DiscoverComing of Age | The Cloud Podcast |
Claim Ownership
Coming of Age | The Cloud Podcast |
Author: Coming of Age | The Cloud Podcast |
Subscribed: 119Played: 1,760Subscribe
Share
© Copyright 2020 All rights reserved.
Description
รายการที่จะพาคุณไปคุยเรื่องบทเรียนชีวิตของผู้คนหลากหลาย และสิ่งที่พวกเขาเพิ่งได้เรียนรู้ในวัยนี้ บทเรียนของการเปลี่ยนผ่านวัย เพราะทุกคนโตขึ้นตลอดเวลา ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 13.00 น.
230 Episodes
Reverse
สันติ เศวตวิมล หรือ แม่ช้อย นางรำ นามปากกาผู้เขียนคอลัมน์ เปิบพิสดาร แห่งหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ และป้ายแนะนำร้านอาหารอร่อยที่อยู่คู่วงการอาหารไทยมาถึง 48 ปี เราจะได้ฟังเรื่องราวชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ที่โตมาในบ้านที่คลองบางหลวงของตระกูลบุนนาค ความขมขื่นในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการโดนไล่ออกจากบ้าน โดนผู้ปกครองแจ้งตำรวจจับ ถูกส่งไปทำข่าวสงครามเวียดนามตั้งแต่อายุ 17 ปี ชีวิตนักเรียนนอกที่เยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และการทำงานข่าวอันโชกโชน เฉียดตายจากการไปทำข่าวสงครามที่กัมพูชา ทำข่าวการเมืองที่ร้อนแรงในไทยจนโดนหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์จนต้องหนีเข้าป่า แล้วก็แจ้งเกิดคอลัมน์ในตำนานอย่าง ‘เปิบพิสดาร’ ด้วยการส่งต้นฉบับออกมาจากป่า
ปัจจุบันสันติกำลังกลับมาทำ ‘เปิบพิสดาร’ อย่างจริงจังอีกครั้ง และทำร้านอาหารชื่อว่า ‘แม่ช้อยดอยหลวง’ แต่เรื่องราวชีวิตของเขายังไม่จบแน่นอน เพราะเจ้าตัวยังต้องการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ และได้พูดในรายการว่า “ถ้าตายแล้วมีคนเสียดายที่เราตาย ถึงจะถือว่าเรียนจบ”
หลังฟัง Coming of Age จบ ไปติดตามและให้กำลังใจการกลับมาของ เปิบพิสดาร ที่กำลังเบลนด์ตัวเองเข้าสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงลิ้มลองอาหารสูตรของ แม่ช้อย นางรำ ในตำนานได้ที่ร้าน แม่ช้อยดอยหลวง จังหวัดนนทบุรี
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ คือคนไทยที่เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดในองค์กรระดับโลกถึง 2 องค์กร คือผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) และเลขาธิการองค์กรการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ซึ่งเป็นองค์กรเศรษฐกิจที่มีแนวคิดแทบจะตรงข้ามกัน และเขาดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกัน จนสร้างความประหลาดใจให้กับคนในวงการอย่างมาก เขาคือคนที่เข้าไปสนับสนุนประเทศเล็กให้มีสิทธิ์มีเสียงในการเจรจาต่อรองใน WTO และเมื่อเขามาทำงานที่ UNCTAD ก็ใช้ประสบการณ์และคอนเนกชันกับระบบทุนนิยมในประเทศใหญ่มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเล็ก
อะไรคือเหตุผลให้เขาลาออกจากการเป็นนักศึกษาแพทย์มาสอบชิงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยไปเรียนเศรษฐศาสตร์ที่เนเธอร์แลนด์ ระหว่างเรียน งานวิจัยของเขาได้รับการตีพิมพ์ขายจนได้ค่าลิขสิทธิ์มากพอที่ทำให้เขาอยู่ได้ 1 ปี (และเขามอบเงินก้อนนี้คืนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย) การมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนแรกของโลก ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลหมาด ๆ ในขณะนั้น ให้อะไรกับเขาบ้าง
ประสบการณ์ในการทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่โดดเด่นจนถูกทาบทามไปลง สส. ในเขตสุดโหดที่เขาได้รับการเลือกตั้งและได้เป็นรัฐมนตรีตั้งแต่สมัยแรก และเบื้องหลังแบบละเอียดว่า ทำไมประเทศที่เสนอชื่อเขาเป็นผู้อำนวยการ WTO ถึงไม่ใช่ประเทศไทย เขาหาเสียงอย่างไรเมื่อสหรัฐอเมริกาโดดลงมาเสนอชื่อแข่งด้วย ไปถึงจนทำไม โคฟี อันนัน ถึงทาบทามเขาให้เป็นเลขาธิการ UNCTAD รวมถึง เหตุการณ์ที่เขาถูกทาบทามให้เป็นนายกรัฐมนตรี และถ้าเขาได้นายกรัฐมนตรี 3 นโยบายที่จะทำคืออะไร ติดตามฟังได้ในรายการ Coming of Age
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
อ้วน Armchair หรือ อ้วน-อธิษว์ ศรสงคราม เปรียบชีวิตของตัวเองเป็นภาพดวงดาว ที่ไม่ว่าจะซูมเข้าไปเท่าไหร่ก็จะเห็นรายละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ Coming of Age ชวนทุกคนนั่งซูมชีวิตของอ้วนในบทบาทศิลปินที่มีเสียงฟลูตหวาน ๆ ที่มาของแต่ละอัลบัม อย่าง Spring ที่มีความร็อกมากขึ้น เพราะต้องการดีไซน์ให้เล่นสดได้สนุกขึ้น และ เพลง Photograph ที่มาจากการสำรวจโลกผ่านภาพถ่ายของเขา ชีวิต 7 ปีในการเรียนด้านศิลปะ และยังได้ทำงานเป็นผู้ช่วยนักโบราณคดี ซูมเข้าไปให้ลึกถึงความยากของชีวิตช่างภาพในไทย และเหตุผลที่เขาไม่ชอบถ่ายภาพคน อีกทั้งชีวิตคู่ รวมถึงที่มาของเพลง แพร ที่แต่งให้ภรรยา และการซ้อมดนตรีที่เหมือนกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะเขากำลังกลับมาเล่นคอนเสิร์ตในรอบ 10 ปี
นอกจากกลับไปเปิดฟังเพลง Armchair กันแล้ว ขอชวนทุกคนไปรับชม ‘Armchair Original’ คอนเสิร์ตใหญ่เต็มรูปแบบครั้งแรกในรอบ 24 ปีที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
เขาคิดว่าตัวเองคือนักเล่าเรื่อง ไม่ใช่ศิลปิน ถึงกระนั้น เล็ก-อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร หรือ Greasy Cafe ก็ทำงานหลายอย่างแบบที่ศิลปินพึงเป็น ทั้งการเป็นนักดนตรี ช่างภาพ ไปจนถึงงานนักแสดงที่เจ้าตัวเพิ่งหลงใหล ถึงขั้นขอแสดงเป็น ‘เจ๊โอ๊ต’ ตัวละคร Transgender ในมิวสิกวิดีโอเพลงใหม่ ความหมายของการมีลมหายใจ จนโด่งดัง คนพูดถึงทั้งวงการ
ที่มาของสิ่งเหล่านั้นคืออะไร จุดเปลี่ยนที่มีความหมายของเขาคืออะไร เล็กจะเล่าให้ฟังผ่านเรื่องที่เขาไม่เคยเล่าผ่านบทเพลงใดในรายการ Coming of Age ตอนนี้
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
จากแกลเลอรีหน้าบ้านดำที่สร้างบนส้วมเก่า กลายเป็นแกลเลอรีที่มีคุณค่าด้วยงานศิลปะ โดย ดอย-ดอยธิเบศร์ ดัชนี ดูแลต่อจากคุณพ่ออย่าง ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินระดับโลกที่ทุกคนรู้จัก ดอยธิเบศร์ยังเป็นศิลปินที่สร้าง Art Investment Center (AIC) แพลตฟอร์มที่เป็นศูนย์กลางเพื่อการลงทุนงานในด้านศิลปะ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้งานศิลปะเป็นเหมือนทรัพย์สิน และทำให้ผลงานของศิลปินไทยได้รับการมองเห็นเป็นวงกว้าง
‘ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร’ อาจเป็นคำนิยามของเรื่องที่ดอยธิเบศร์นำมาเล่าในรายการ Coming of Age ตั้งแต่เกิดมาโดยไม่รู้ว่าพ่อแม่คือใคร การสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เพราะวาดรูปเหมือนพ่อเกินไป เกิดเป็นความผิดหวังจนช็อกเข้าโรงพยาบาล การผิดสัญญาของคุณแม่ และการที่พ่อไม่เคยยอมรับ จนเขาต้องหาทางรอดในอาชีพที่รักด้วยตัวเอง สุดท้ายมีเหตุการณ์ที่ทำให้เขาได้ใช้ชีวิตแบบพ่อลูกคู่อื่นแค่ปีเดียวก่อนพ่อจะเสีย และยังถูกฟ้องหลังกลับมาจากงานศพของพ่อตัวเอง รวมถึงผลงานของพ่อที่ถูกขโมยไป 113 รูป และยังมีขบวนการรูปปลอม แต่ปัจจุบันเขามีหลักฐานที่รวบรวมมาเป็นสิบปี และกำลังจะเปิดเผยทุกอย่างเร็ว ๆ นี้
นี่เป็นเพียงน้ำจิ้มในการเดินทางคลุกฝุ่นของชายชื่อว่า ดอยธิเบศร์ หากฟังจบแล้ว ตามไปดื่มด่ำเรื่องราวนี้ในนิทรรศการ ‘ถวัลย์ ดัชนี นายคนภูเขา ผู้สร้างถ้ำงานศิลป์’ จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 10 ปี วันถวัลย์ ดัชนี และครบรอบ 12 ปี แห่งการสร้างสรรค์ร่วมกับอาณาจักรสยามพิวรรธน์ เข้าชมงานได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ สยามพารากอน ชั้น 5
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
เจแปน Buffet, เจแปน ชิงร้อยฯ, เจแปน หกฉากครับจารย์ ฯลฯ ไม่ว่าใครจะเรียกเขาว่าอะไร แต่ เจแปน-ภาณุพรรณ จันทนะวงษ์ คือบุคคลเบื้องหน้าและเบื้องหลังมากความสามารถที่คว้าหมดทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานแสดง พิธีกร ยูทูบเบอร์ และล่าสุดลงมือกำกับภาพยนตร์ ศึกค้างคาวกินกล้วย หลังซุ่มเขียนบทไว้นานนับปี
ถึงภาพ 99% ที่ทุกคนได้เห็นเขาคือความ ‘ตลก’ วันนี้เขาจะมาพร้อมเบื้องหลังวิธีการเก็บมุกนับร้อยไว้ในลิ้นชักของสมอง และการทำการบ้านอย่างหนักหน่วงในทุกคืนถึงแม้จะทำงาน 30 วันต่อเดือน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกเลียนเสียงคนดัง การหาจังหวะปล่อยมุกที่เซอร์ไพรส์คนทั้งกอง การดูหนังและรายการต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อีกทั้งย้อนถึงวัยที่เคยทำผิดพลาดเรื่องรัก การมีอีโก้ จุดตกต่ำที่ไม่มีเงินแม้จะทานข้าว และวิธีการทำงานใน Workpoint ท่ามกลางคนเก่งกาจมากมาย จนล่าสุดได้ขึ้นแท่นพิธีกรผู้ช่วยของ ตา-ปัญญา นิรันดร์กุล ที่ในประวัติศาสตร์ Workpoint เคยมีแค่ไม่กี่ครั้ง
หลังฟังเรื่องราวของเขาแล้ว ชวนไปชมผลงานการกำกับ ศึกค้างคาวกินกล้วย ในวัย 33 ปีของเขาได้แล้ววันนี้ ณ โรงภาพยนตร์
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
พีช-พชร จิราธิวัฒน์ กลับมาในภาพยนตร์ ศึกค้างคาวกินกล้วย ซึ่งเป็นการร่วมงานกับ เก้า-จิรายุ ละอองมณี ในรอบ 13 ปี หลังจาก SuckSeed ห่วยขั้นเทพ ในวันนี้พีชอายุ 31 ปี และกำลังเรียนต่อปริญญาโทด้าน Major Programme Management ที่ University of Oxford พร้อมพาร้าน Khao-Sō-i ไปเปิดสาขาใหม่กลางกรุงลอนดอน และแบรนด์ Potato Corner ที่เขาฟูมฟักมากำลังทะสานสู่ 115 สาขาในปีนี้อีกด้วย
รายการ Coming of Age ชวนคุยถึงจุดพลิกชีวิตของพีช ตั้งแต่เหตุการณ์ที่เริ่มฝึกงานช่วงมัธยมต้นโดยไม่มีใครรู้นามสกุล วันที่ทำพรีเซนเทชันไปขอทุนคุณพ่อคุณแม่เพื่อมาเปิดร้านเฟรนช์ฟรายส์กับเพื่อนสนิท และเส้นทางการแสดงที่เขาเชื่อว่าตัวเองเห่ยจนได้รับบทเป็นคนห่วยใน SuckSeed ห่วยขั้นเทพ จุดเริ่มต้นที่พลิกชีวิตในวงการบันเทิง จนมาถึงวันนี้ที่ได้กลับมาร่วมงานกับ เก้า จิรายุ อีกครั้ง ฟังทั้งหมดได้ใน Coming of Age ตอนนี้ แล้วตามไปรับชมพวกเขาทั้งคู่ได้ใน ศึกค้างคาวกินกล้วย ทุกโรงภาพยนตร์
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
นพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำงานที่ ปตท. มาแล้วกว่า 35 ปี ทำงานมาทั้งหมด 17 รูปแบบ ผ่านวิกฤตต้มยำกุ้งและวิกฤตในยุคต่าง ๆ มาจนถึงวัยเกษียณ แต่ทุกวันนี้เขายังขับรถไป-กลับบ้านเกิดอย่างสมุทรสาครเพื่ออยู่กับครอบครัวทุกวัน เหมือนในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นลูกชายของนายสถานีรถไฟที่มีความฝันอยากทำงานภาครัฐในด้านวิศวกร มุ่งมั่นจนมาถึงการสมัครงานกับ ปตท. และโดนเรียกสัมภาษณ์ในเวลาไม่ถึงอาทิตย์
ชวนไปย้อนฟังการเดินทางของเด็กมหาชัยที่เข้ากรุงเทพฯ มาทำตามความฝัน และการทำงานใน ปตท. ที่ไม่ง่าย จนมาถึงวัย 60 ปีที่ต้องมองหาประตูถัดไปของชีวิต และมุมมองคุณค่าของงานกับคนทำงานที่พร้อมส่งต่อให้กับทุกคนต่อไป
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ในโอลิมปิก 2024 ทั่วประเทศร่วมยินดีกับ วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ที่คว้าเหรียญเงินแบดมินตันชายเดี่ยวไปครอง ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังคือ โค้ชเป้-ภัททพล เงินศรีสุข จากครอบครัวขนมไทยที่เริ่มซ้อมแบดมินตันเพียงเพื่อจะลดน้ำหนัก แต่บังเอิญพบผู้รับเหมาที่มาสร้างคอร์ตแบดฯ มีลูกชายเป็นนักกีฬาทีมชาติ จุดพลิกผันนั้นทำให้เขาได้เป็นนักแบดมินตันที่ไปถึงโอลิมปิก และปัจจุบันเขาคือโค้ชและผู้อำนวยการของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ผู้พานักกีฬาที่อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองเป็นแชมป์โลกได้ถึง 2 คน
พาย้อนกลับไปคุยจุดเริ่มต้นเส้นทางนักกีฬาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ การลงแข่งโอลิมปิก 2004 สู่การวางมือในวัย 27 ปี และต้องกลับมาตั้งต้นฝึกสอนใหม่ด้วยคำสั่งของ แม่ปุก-กมลา ทองกร ผู้ก่อตั้งชมรมแบดมินตันบ้านทองหยอด เขาต้องก้าวข้ามอีโก้ในจิตใจ และรับมือความเครียดจากความคาดหวังจนต้องเข้าพึ่งทางธรรม เผยวิธีการดูแล วิว กุลวุฒิ ที่ไม่ใช่แค่ทริกในสนาม รวมถึงเรื่องความรักกับภรรยาที่เปลี่ยนชีวิต และจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ของโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอดที่เริ่มจากการทำขนมไทย กลายมาเป็นโรงเรียนผลิตนักแบดมินตันคุณภาพแห่งแรกของประเทศไทยได้อย่างไร ฟังได้ในรายการ Coming of Age
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ทีมงาน The Cloud มาเยือนรีสอร์ตเพื่อสุขภาพแห่งแรกของประเทศไทยและต้นแบบของเอเชียที่ยืนหนึ่งเรื่องความยั่งยืนมายาวนานอย่าง ‘ชีวาศรม อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ รีสอร์ท’ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าพักมีสุขภาพดีอย่างสมดุล ทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ โดยครั้งนี้เราได้พูดคุยกับ วินย์ โรจนเสถียร ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากช่วงวัยรุ่นที่เคยเป็นทั้งนักดนตรีและสถาปนิกซึ่งสนุกสนานอยู่ในต่างประเทศ แต่ก็กลับมาทำงานร่วมกับคุณพ่อ (กฤป โรจนเสถียร) ด้วยความตั้งใจที่จะกลับมาสานต่อชีวาศรม โดยเขาเริ่มตั้งแต่ทำงานในทุกแผนกกับพนักงานทั่วไป และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Operations Manager
ชวนฟังเรื่องสนุก ๆ อย่างทำไมรีสอร์ตเพื่อสุขภาพต้องห้ามใช้โทรศัพพ์มือถือ เมื่อเข้ามาใช้บริการแล้วเขาทำอะไรกัน ทำไมต้องมีกิจกรรมเพื่อสุขภาพกว่า 200 ทรีตเมนต์ การทำงานร่วมกับคนในครอบครัว และวิธีบริหารความสัมพันธ์กับพนักงานและลูกค้าในสไตล์ของโรจนเสถียรเป็นอย่างไร ถึงทำให้พนักงานมากมายและลูกค้ายังอยู่กับรีสอร์ตแห่งนี้ยาวนานถึง 30 ปี
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ถ้าให้นึกถึงตัวเองในวัย 15 ปี หลายคนอาจนึกถึงการเริ่มเป็นเด็กมัธยมปลาย แต่ วิรไท สันติประภพ นักการเงินหรือนักเศรษฐศาสตร์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในวัยนั้นได้เริ่มเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ตอนอายุเพียง 18 ปี หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Harvard University วิรไทก็เข้าไปทำงานใน IMF และกลับมาประเทศไทยเพื่อแก้วิกฤตต้มยำกุ้งที่กระทรวงการคลัง หลังจากนั้นเขาก็เป็นที่รู้จักในสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กรเรื่อยมา จนได้มาเป็นผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนที่ 20 ของประเทศไทย
ปัจจุบันเขาเป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจ รวมถึงเป็นประธานกรรมการบริหารสวนโมกข์กรุงเทพ และดูแลหลักสูตรองค์กรรมณีย์ หรือ Mindfulness Organization ที่สอนหลักสูตรการนำธรรมะมาใช้กับการบริหารในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเขาถอดบทเรียนมาจากตัวเองในอดีต และได้ตกผลึกในวัย 55 ทั้งมิติของการแบ่งเวลา การเงิน และคุณค่าของชีวิต ไปฟังการบริหารจิตใจด้วยธรรมะฉบับ วิรไท สันติประภพ ได้ในรายการ Coming of Age
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
เมื่อเริ่มเข้าวัย 60 ปี บางคนอาจคิดถึงการเกษียณจากการทำงาน แต่ อ้ำ-ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ ในวัย 65 ยังคงสนุกกับการเขียนบทและทดลองทำอะไรใหม่ ๆ อย่างการร่วมงานกับ MILLISECOND หากพูดถึงผลงานที่ทำให้คนรู้จักเธอมากที่สุดในยุคหลังคงไม่พ้น เลือดข้นคนจาง ซีรีส์ที่ยกมาตรฐานใหม่ให้วงการละครไทย แต่ถ้าย้อนกลับไป ทุกคนเคยรู้จักเธอในฐานะผู้บริหารเอเจนซี่โฆษณา ครีเอทีฟไดเรกเตอร์ บรรณาธิการนิตยสาร ก๊อบปี้ไรเตอร์ นักแปลนิยาย และหากย้อนกลับไปไกลขึ้นอีก เธอคือเออี พีอาร์ และครูสอนหนังสือ หากรวมทั้งชีวิต เธอมีมากกว่า 10 บทบาทที่ทดลองทำมาจนวันนี้
รายการ Coming of Age ได้พูดคุยในช่วงชีวิตที่อ้ำชอบและคิดว่าลงตัวที่สุด พร้อมบทเรียนในช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่การหาบาลานซ์ชีวิตไม่ได้ การถูกรับน้องเมื่อเป็นผู้บริหาร การเป็นแม่คน ความเครียดจากการต่อสู้ในที่ทำงาน และในวันที่เริ่มมองเห็นความตายรอบตัวมากขึ้น สะท้อนอะไรให้กับหญิงแกร่งวัย 65 คนนี้ นี่คือบทสัมภาษณ์ครบรสเรื่องการทำงานและชีวิตที่คุณไม่ควรพลาด
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
หลายคนเคยเรียกเขาคนนี้ในชื่อ โตน โซฟา ศิลปิน นักดนตรี และนักแต่งเพลงที่เป็นเจ้าของเพลงดังยุค 2000 อย่าง เรื่องมหัศจรรย์ รวมถึงโปรดิวซ์เพลงให้ศิลปินมากมาย แม้ว่าเส้นทางดนตรีเป็นทางที่เขาชื่นชอบ แต่มีอีกหนึ่งสิ่งที่อยากทำมาเสมอคือการบวช โตน โซฟา จึงลาจากวงการดนตรีเข้าสู่เส้นทางธรรมมานานกว่า 9 พรรษา จนปัจจุบันทุกคนเรียกเขาว่า พระมหาจักรธร อตฺถธโร หรือ พระโตน
แม้ในตอนแรกเป้าหมายคือการบวชเพียง 1 พรรษา โดยเริ่มตั้งแต่การสอบเข้าด้วยการท่องจำพระสูตรนับร้อย สวดมนต์กว่า 75 บท และเริ่มต้นเรียนภาษาบาลีด้วยตัวเอง จนตอนนี้ท่านศึกษาถึงเปรียญ 7 และเป็นอาจารย์สอนบาลีแก่พระบวชใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร รายการ Coming of Age จึงอยากพาทุกคนย้อนกลับไปในอดีต สมัยที่ โตน โซฟา โลดแล่นอยู่ในวงการเพลง จุดพลิกผันอะไรที่ทำให้เขาเลือกเปลี่ยนเส้นทางชีวิตครั้งใหญ่จนกลายเป็น พระโตน และกิจที่ต้องปฏิบัติในฐานะสงฆ์บนความสุขในวัย 47 ปี
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ถ้าพูดถึงนักแบดมินตันประเภทชายเดี่ยวของประเทศไทยที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้ คงหนีไม่พ้น วิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ที่ในวัยเด็กป่วยเป็นโรคภูมิแพ้เลยใช้กีฬาแบดมินตันช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และคว้าที่ 3 ในรายการการแข่งขันนักแบดมินตันหน้าใหม่ได้ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ และด้วยการดูแลของโค้ชมากฝีมืออย่าง โค้ชเป้ง-เมตไตรย์ อมาตยกุล (เสียชีวิตเมื่อปี 2021) จากสโมสรแบดมินตันอมาตยกุล และ โค้ชเป้-ภัททพล เงินศรีสุข จากโรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ในปี 2023 วิว กุลวุฒิ ก็ได้เป็นนักแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของประเทศไทยที่พิชิตแชมป์โลกในที่สุด ถึงแม้เขามักจะถูกแฟนกีฬาวิจารณ์เรื่องร่างกายที่ไม่เหมาะกับการเป็นนักแบดมินตัน ไม่ว่าจะเป็นการเป็นภูมิแพ้หรือร่างกายที่น้ำหนักขึ้นง่าย แต่ตอนนี้เขากำลังมุ่งสู่สนาม Olympic 2024 เป็นครั้งแรก พร้อมเผยหลากทริกในสนาม ตั้งแต่ทิศทางลม ลูกขนไก่ การควบคุมสติ ไปจนถึงการบาดเจ็บที่อาจเป็นข้อดีในการแข่งขันได้ มาฟังเรื่องราวการฝึกซ้อม การแบ่งเวลา และทัศนคติเพื่อคว้าชัยได้ใน Coming of Age พร้อมร่วมส่งกำลังใจไปในสนาม Olympic Games Paris 2024 ที่จัดขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม ปี 2024 นี้
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
เหลิม-ธิติสรรค์ ปั้นโหมด เกือบได้เป็นนักกีฬามวยที่อายุน้อยที่สุดในโอลิมปิกปี 2020 แต่เพราะการบาดเจ็บจากเอ็นไขว้หน้าเข่าซ้ายฉีกขาดในการขึ้นชก จนต้องนั่งวีลแชร์ไปซ้อมถึงวินาทีสุดท้ายที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้เขาพลาดโอกาสนั้นไป จนวันนี้เขาอายุ 23 ปี และกลับมาอีกครั้งใน Olympic Games Paris 2024 ด้วยร่างกายและจิตใจที่ต่างออกไป นอกจากเทคนิคการเอาชนะด้วยหมัด ยังฝึกจิตใจตนเอง ฝึกอ่านกรรมการจากแต่ละทวีป ฝึกการพูดหน้ากระจก และบางครั้งก็ไม่ฟังเพลงเศร้า เพราะเขาเชื่อว่าการจะไปถึงฝัน ต้องอุดทุกรูรั่วของกายและใจของนักกีฬา
ชวนทุกคนไปเปิดแผลใจที่หนักอึ้งสำหรับเด็กชายผู้รักมวยมาตั้งแต่เด็ก ทั้งการเกือบจะเลิกต่อยมวยถาวร การถูกเพื่อนรังแกทั้งที่เป็นลูกเจ้าของค่ายมวย ความสัมพันธ์มากมายในชีวิตที่สูญเสียไปเพื่อเส้นทางกีฬา ไปจนถึงการฝึกหนักจนสลบเข้าโรงพยาบาล นี่คืออีกหนึ่งแชมป์โลกในซีรีส์ ‘The World’s Class’ ที่เล่าเส้นทางชีวิตของนักกีฬาได้อย่างเข้มข้น จนฟังแล้วจะไม่อยากพลาดเชียร์เขาในครั้งนี้แน่นอน
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ประเทศไทยมีนักกีฬาหลายคนจากหลายประเภทที่พิชิตระดับโลกมาแล้ว แต่มีเพียง 31 จาก 638 คนที่คว้าเหรียญจากโอลิมปิกกลับมาในหน้าประวัติศาสตร์ และในโอลิมปิก 2024 นี้ ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุดในอาเซียน เป็นโอกาสครั้งสำคัญของพวกเขาที่รอคอยมาถึง 4 ปีเพื่อคว้าเหรียญกลับประเทศ
รายการ Coming of Age จึงขอพาเข้าสู่โอลิมปิกด้วย ‘The World’s Class’ ซีรีส์พิเศษที่จะสัมภาษณ์ 3 นักกีฬาไทยจากสนามระดับโลกที่กำลังจะไปพิชิตฝันสูงสุดในชีวิตของพวกเขา โดยคนแรกจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก เมย์-รัชนก อินทนนท์ แชมป์แบดมินตันโลกอายุน้อยที่สุด และเป็นขวัญใจของเหล่าผู้เชียร์กีฬาไทยมาอย่างยาวนาน แต่มีอีกหนึ่งสนามที่เธอยังไม่ได้พิชิตคือ ‘โอลิมปิก’ ถึงจะเข้าร่วมการแข่งขันนี้มาแล้ว 3 ครั้ง แต่เส้นทางคว้าชัยไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด การผิดหวังซ้ำ ๆ และถูกตั้งคำถามว่า “หมดยุคของเมย์แล้วหรือยัง” สร้างแรงกดดันให้เธอต้องข้ามผ่าน จนมาถึงวันที่โอลิมปิกครั้งสุดท้ายของเธอกำลังจะมาในไม่ช้า
ชวนคุยถึงอนาคตหลังจบโอลิมปิกของ เมย์ รัชนก ทั้งการซื้อรถคันแรกและฝันที่อยากเป็นโค้ช พร้อมย้อนกลับไปฟังเรื่องราวชีวิต การบาดเจ็บระหว่างแข่งขัน การสูญเสียคุณแม่ ความกดดันของเหล่านักกีฬา อะไรที่ทำให้เธอผ่านเรื่องราวเหล่านี้มาได้ และพร้อมที่จะไปสู้ต่อใน Olympic Games Paris 2024 ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รายการ Coming of Age ขอชวนคนไทยทุกคนโอบกอดและส่งเสียงเชียร์เธอให้สุดใจในการล่าฝันสูงสุดครั้งสุดท้ายนี้ไปด้วยกัน
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
แก๊ป-ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล เป็นคนทำรายการบ้านที่รู้ลึกรู้จริงที่สุดคนหนึ่ง จากการเป็นพิธีกรรายการ บ้านและสวน และช่องยูทูบชื่อว่า Gapthanavate ที่พูดถึงความงามกับความจริงของบ้าน ทั้ง ๆ ที่ในอดีตถูกสบประมาทในฝีมือ ตามหลังเพื่อนไม่ค่อยทัน แต่เขาก็เข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สำเร็จ และนั่นคือที่ที่ทำให้เขาเริ่มเป็นตัวประกอบในถาปัดการละคอน จุฬาฯ ได้แสดงกับกลุ่มละครเวทีเล็ก ๆ และเข้ามาอยู่ในวงการเต็มตัว
พาย้อนฟังเรื่องราวของเด็กผู้ชายที่มีฝันแต่คนบอกว่าทำไม่ได้ จนกลายมาเป็นชื่อที่คนทำบ้านจะต้องรู้จัก และชีวิตปัจจุบันหลังมีลูกสาว การมองบ้าน ครอบครัว และอนาคตเขาเปลี่ยนไปอย่างไร รวมทั้งคุยเรื่องอาชีพที่ปักใจรักอย่างการแสดงซึ่งคิดว่าคงไม่มีวันเลิกรา ในผลงานล่าสุดจากเรื่อง สืบสันดาน รับชมพร้อมกันวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ที่ Netflix
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ หรือชื่อในภาษาอาหรับคือ ฟูอาดี้ บิน อับดุล ฮาลีม พิศสุวรรณ เคยเป็นที่รู้จักในฐานะทายาทของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และเขาก็เป็นที่พูดถึงอีกครั้งในฐานะที่ปรึกษาของพรรคก้าวไกล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Oxford มาหมาด ๆ วันนี้รายการ Coming of Age จึงอยากชวนพูดคุยในหลายเรื่องที่ยังไม่เคยเปิดใจที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นความเห็นต่างทางการเมืองกับคุณพ่อ บทบาทกองทัพและอาวุธ จุดยืนท่ามกลางความขัดแย้ง และเรื่องราวการผจญภัยตลอด 9 ปีในการเรียนปริญญาเอก
ดร.ฟูอาดี้ ยังมีฝันจะผลักดันวงการกาแฟไทย โดยเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ตั้งแต่ปี 2013 ที่พบความน่าทึ่งของกาแฟจากคาเฟ่ในบอสตัน ปัจจุบันเขาเป็นนักพัฒนากาแฟ เจ้าของแบรนด์ Beanspire Coffee และเป็นอุปนายกสมาคมกาแฟพิเศษไทยที่ร่วมกับ The Cloud จัดงาน Thailand Coffee Fest 2024 : Regeneration ใครอยากมาชมพลังของกาแฟไทยที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ไปพบกันได้ที่ IMPACT Exhibition Center Hall 5 - 8 ระหว่างวันที่ 11 - 14 กรกฎาคมนี้
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
“ทำงานหนักขนาดนี้แต่ยังไม่มีกิน” นี่คือสิ่งที่ โจน จันใด เจ้าของช่อง YouTube ‘โจน จันใด ชีวิตง่ายๆ’ ตั้งคำถามกับชีวิตตัวเอง เมื่อสมัยที่เขาอยู่ในเมืองและทำมาหลายอาชีพ เป็นทั้งยาม เด็กเสิร์ฟ และพนักงานโรงแรม แต่กลับค้นพบว่าไม่ได้ตอบโจทย์การมีชีวิตอยู่ จึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด มุ่งหน้าเก็บขี้ควาย ปลูกผัก สร้างบ้านดิน และเก็บเมล็ดพันธุ์ จนคนในหมู่บ้านหาว่าเขาสติฟั่นเฟือน และทำให้ครอบครัวอับอาย แต่ในที่สุดเขาก็ก่อตั้ง ‘พันพรรณ’ สวนเกษตรอินทรีย์ที่กลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ผู้คนจากหลากอายุ เพศ เชื้อชาติ มาอยู่ร่วมกันและนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่เขาภูมิใจ
ปัจจุบัน โจน จันใด นิยามว่าตัวเองเป็น ‘ชาวนา’ ที่ยังเพลิดเพลินกับวัย 60 ของตนไปกับการเก็บเมล็ดพันธุ์ ตอบจดหมายนับพันฉบับ และดูแลสวนพันพรรณ อะไรคือเป้าหมายถัดไปของชีวิตในวัย 60 ปี ไปฟังเรื่องราวชีวิตง่าย ๆ ที่เคยยากได้ใน Coming of Age
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
“ถ่ายหนังหรือโฆษณายังไม่ตื่นเต้นเท่านี้เลยครับ” นี่คือสิ่งที่หนุ่มเกาหลี อิลฮงมิน ที่เราคุ้นหูกันในชื่อ พี่ฮง หรือ โอปป้าฮง พูดขึ้นเมื่อนั่งลงตรงเก้าอี้สัมภาษณ์ หลายคนมักเห็นเขาในมุมที่ช่างพูดสนุกสนาน แต่ความจริงเขาช่างสุขุมและขี้อายเมื่อต้องเล่าเรื่องชีวิตที่ล้มลุกและเรื่องราวในอดีต ทั้งผิดหวังเรื่องรัก การหาเงินอย่างยากลำบาก และการเอาจริงเอาจังเรื่องเพลงจนถึงขั้นหยุดเรียนหนังสือเพื่อไปเรียนด้านดนตรีที่ปูซาน แต่ผลตอบรับกลับไม่เป็นอย่างที่คิด
ใครจะรู้ว่าความรักเปลี่ยนเขาจาก ‘Good Boy’ เป็น ‘Bad Boy’ และการไลฟ์สดพูดคุยไปเรื่อยจะทำให้ผู้คนตกหลุมรักเขาจนกลายเป็น ‘Bangkokboy’ ขวัญใจคนไทย ไปฟังบทสัมภาษณ์ที่จะทำให้เห็นการใช้ชีวิตและมุมที่จริงจังมากขึ้นของพี่ฮงที่หลายคนอาจยังไม่เคยเห็นได้ใน Coming of Age
ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน
Comments
Top Podcasts
The Best New Comedy Podcast Right Now – June 2024The Best News Podcast Right Now – June 2024The Best New Business Podcast Right Now – June 2024The Best New Sports Podcast Right Now – June 2024The Best New True Crime Podcast Right Now – June 2024The Best New Joe Rogan Experience Podcast Right Now – June 20The Best New Dan Bongino Show Podcast Right Now – June 20The Best New Mark Levin Podcast – June 2024
United States